ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติเป็นอาชญากรรมที่ดำเนินการข้ามพรมแดนของประเทศต่าง ๆ และมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกลุ่มองค์กรหรือเครือข่ายบุคคลในประเทศต่าง ๆ ด้วยแผนการที่จะก่ออาชญากรรม องค์กรอาชญากรรมมีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียพร้อม ๆ กับความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้กระทำผิดแสวงหาหนทางในการสร้างผลประโยชน์แก่ตนเองผ่านการลักลอบขนยาเพสติด มนุษย์ อาวุธ ไม้ สัตว์ป่า และสินค้าปลอมแปลง ข้ามพรมแดน การกระทำผิดในลักษณะนี้เป็นภัยอย่างยิ่งต่อความมั่นคงและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย

TIJ จึงให้ความสำคัญกับการแสวงหามาตรการในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ด้วยการสนับสนุนสถาบันทางการยุติธรรมทางอาญาและให้ความช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ โดยมีกรอบแนวทางที่ให้ความสำคัญกับประเด็นเพศสภาพ ให้เหยื่อเป็นศูนย์กลาง และคุ้มครองสิทธิของเหยื่อ อันเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับเครื่องมือ มาตรฐาน และข้อกำหนดระดับภูมิภาคและสากล เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 

กิจกรรมสำคัญ 

  • การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประเด็นอาชญากรรมข้ามชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น โครงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวโน้มอาชญากรรมข้ามชาติที่กระทำในลักษณะองค์กรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แนวโน้มในการใช้เทคโนโลยีและบทบาทของเอกชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ตลอดจนการส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมที่มีเหยื่อเป็นศูนย์กลาง 
  • การพัฒนาศักยภาพบุคลากร เช่น โครงการสัมมนาหัวข้อ “การพัฒนาทางเศรษฐกิกจและการปราบปรามอาชญากรรมในยุคดิจิทัล”

พันธมิตรหลัก

  • สำนักงานอัยการสูงสุด
  • กระทรวงยุติธรรม
  • กรมตำรวจแห่งชาติ
  • ศาลยุติธรรม
  • กรมสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ 
  • สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
  • กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 
  • สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ
  • องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Interpol) 
Back
chat