สำนักนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรม: สร้างระบบยุติธรรมที่มีคนเป็นศูนย์กลาง
ปัญหาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ความไม่เท่าเทียม วัฒนธรรมความรุนแรงในสังคม และปัญหาคอร์รัปชั่น เป็นข้อท้าทายสำคัญที่หลายประเทศทั่วโลกยังคงประสบอย่างต่อเนื่อง สภาพปัญหาที่เรื้อรังเหล่านี้ ชี้ให้เห็นว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีการแบบเดิม ๆ ที่ผ่านมา อาจไม่เพียงพอแล้วในบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป หนทางสู่การยุติวังวนปัญหาเหล่านี้ และบรรลุเป้าหมาย SDG ภายในปี 2030 จำเป็นต้องอาศัย ”นวัตกรรม” และวิธีการแก้ปัญหารูปแบบใหม่ ๆ ในปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลกเริ่มเคลื่อนไหว เพื่อผลักดันวิธีการทำงานรูปแบบใหม่ ๆ ที่เน้น ‘คน’ เป็นศูนย์กลางในการพัฒนานวัตกรรมและการแก้ปัญหาด้านความยุติธรรม
สำนักนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมของ TIJ หรือ TIJ Innovation Unit เล็งเห็นถึงความจำเป็นและโอกาสในการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ ทรัพยากร และเครือข่ายของเรา ในการพัฒนาระบบยุติธรรมให้มี 'คนเป็นศูนย์กลาง' ผ่านการทำงานอย่างมีส่วนร่วม และกระบวนการแก้ปัญหาแบบบูรณาการ สำหรับ TIJ ขอบเขตของปัญหาความยุติธรรมที่ต้องการนวัตกรรมในการแก้ปัญหา ไม่ได้จำกัดเฉพาะปัญหาในกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น แต่เริ่มต้นจาก “คน” ในระดับครอบครัวและชุมชน ขยายไปสู่ตำรวจ อัยการ ศาล และเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และวนกลับมาถึงการกลับเข้าสู่สังคมของผู้พ้นโทษ
แนวทางการทำงานของเรา
แนวทางการทำงานเพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมโดยเฉพาะความยุติธรรมทางอาญา สำนักนวัตกรรมฯ ยึดหลักการดังต่อไปนี้
1.ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เป็นปัญหาเชิงระบบก่อน (systemic / adaptive problems) ซึ่งหมายถึงปัญหาเรื่องความยุติธรรมที่หน่วยงานใดเพียงหน่วยงานหนึ่งไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะแก้ไขเองได้ จำเป็นต้องดึงความร่วมมือจากหลายส่วนงาน จึงจะสามารถแก้ไขได้
2.ใช้หลัก human-centered approach หรือ การคิดแบบมีคนเป็นจุดศูนย์กลางในการออกแบบและผลักดันกระบวนการยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
3.เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยดึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกันและดึงความรู้จากหลายสาขาวิชามาใช้ในการทำความเข้าใจปัญหาและเสนอทางแก้ไข
4.มุ่งสร้างระบบนิเวศและปัจจัยพื้นฐานที่ส่งเสริมให้เกิดแนวทางแก้ปัญหา หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ในระบบยุติธรรม
5.ปลูกฝังคุณค่าเรื่องความยุติธรรมในระดับ mindset เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
บทบาทในฐานะ enabler
TIJ Justice Innovation Unit มองเห็นโอกาสในการใช้ทรัพยากรของสถาบัน ทั้งด้านองค์ความรู้ และเครือข่าย รวมถึงสถานะของสถาบัน เพื่อผลักดันวิธีการและแนวคิดการทำงานแบบใหม่ให้กับกระบวนการยุติธรรม โดย สำนักนวัตกรรมฯ มองว่าตัวเองสามารถทำหน้าที่เป็น “enabler” หรือ “ผู้อำนวย”, “ผู้สนับสนุน” ให้กระบวนการยุติธรรมสามารถไปถึงจุดที่ทำงานโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
บทบาทการเป็น enabler ในทางปฏิบัติที่ทีมงานได้มีประสบการณ์มา พบว่ามีหน้าที่แตกต่างกันไปในแต่ละบริบท โดยสามารถสรุปเบื้องต้นได้คือ
1. บริบทการเริ่มต้นสร้างนวัตกรรม หน้าที่ของสำนักนวัตกรรมฯ คือ เป็นผู้ริเริ่มโครงการ เป็นตัวเชื่อมที่เชื่อถือได้ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้ามาร่วมทำงานในโครงการ เป็นผู้ประสานงานและผลักดันให้โครงการสามารถสำเร็จได้ตามแผน โดยผลผลิตที่คาดหวังในขั้นนี้คือ ต้นแบบนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมที่สามารถใช้งานได้ นำไปทดลองขยายผลต่อได้
2. บริบทการขยายผลนวัตกรรม หน้าที่ของสำนักนวัตกรรมฯ คือ หน้าที่ในการ pitch นวัตกรรมให้กับหน่วยงาน อื่น ๆ ไปใช้ รวมไปถึงการเป็นผู้ลงทุนเพื่อให้นวัตกรรมสามารถไปต่อได้ ผลผลิตที่ต้องการในชั้นนี้คือ ข้อมูลการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (social impact assessment) ที่วัดได้และเห็นผล
3. บริบทการเชื่อมนวัตกรรมกลับเข้าสู่ระบบที่มีอยู่ หน้าที่ของ สำนักนวัตกรรมฯ คือการ วางแผน plug in งานให้ระบบที่มีอยู่สามารถรับนวัตกรรมเข้าไปใช้ได้ โดยอาจประกอบไปด้วย การสร้างแผนขยายนำนวัตกรรมไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ในระบบเดิม รวมถึงการออกแบบระบบแรงจูงใจให้สอดคล้องกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ในระบบ โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังในชั้นนี้ คือนวัตกรรมสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบกระจายสู่ประชาชนและสามารถใช้งานได้จริง
สำนักนวัตกรรมฯ ตั้งใจที่จะเป็นผู้พัฒนาต้นแบบ และสร้างองค์ความรู้ รวมไปถึงการสร้างและผลักดันระบบนิเวศที่จะช่วยให้ระบบยุติธรรมสามารถรองรับนวัตกรรมและการทำงานรูปแบบใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ประชาชน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับกระบวนการยุติธรรมด้วย
ประสบการณ์ของเรา
สำนักนวัตกรรมฯ เริ่มต้นมาจากโครงการเล็กๆ ชื่อว่า Project j ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 เพื่อเรียนรู้ ทดลอง และ พัฒนารูปแบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อต้นปี พ.ศ. 2564 สำนักนวัตกรรมฯ จึงก่อตั้งเป็นสำนักของสถาบันอย่างเป็นทางการ
ปัจจุบัน สำนักนวัตกรรมฯ มองว่าบทบาทของเราคือการเป็นจุดเชื่อมต่อและอำนวยความสะดวกให้เกิดความร่วมมือกันของภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลากหลายภาคส่วน ทั้งในและนอกกระบวนการยุติธรรม เรามอบพื้นที่ทดลอง และแหล่งทรัพยากรในการเรียนรู้ เพื่อสร้างนวัตกรรมที่จะสามารถผลักดันให้ระบบยุติธรรมเป็นระบบที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ประเด็นปัญหาหลักที่เรามุ่งเน้น ได้แก่ ความรุนแรงทางเพศ การเสริมพลังเยาวชนที่ก้าวพลาดและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงอาชญากรรม และการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของพลเมืองในกระบวนการยุติธรรมผ่านการใช้ข้อมูลเปิดและเทคโนโลยี
อย่างไรก็ตาม งานของสำนักนวัตกรรมฯ เพิ่งเริ่มต้น ยังมีข้อท้าทายและสิ่งใหม่ให้ต้องเรียนรู้อีกมาก เราหวังว่า จะสามารถแบ่งปันประสบการณ์และการเรียนรู้ของเรา ให้เป็นประโยชน์ได้ต่อไป
โครงการหลักของเรา :
Rethinking Justice for Innovator: a justice curriculum for 21st century
Toolbox for justice innovation:
Design thinking playbook [coming soon]
Future thinking for justice curriculum handbook
ติดตามงานของเราได้ที่ เฟซบุ๊ค TIJ-Project j
หากท่านสนใจมาเป็นส่วนหนึ่งหรือมีคำถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ที่ :
j-innovation@tijthailand.org หรือ kanravee.k@tijthailand.org
สนใจเรียนรู้ ติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของ “นวัตกรรมเพื่อความยุติธรรม”จากผู้นำทางความคิดทั่วโลก:
The Hague Institute for Innovation of Law [HiiL] - The latest development of justice innovation from the Innovating Justice Forum 2021 hosted by HiiL
The World Justice Project [WJP] - Browse the world for the ideas that meet the world justice challenge each year
Taskforce for Justice - Learn about the overview of the new approach to justice for all
Stanford Legal Design Lab - Stay on the tech x design frontier for the betterment of justice and law
Law, justice and development, World Bank - The global radar on what is happening around the world in terms of law, justice and development comes in the form of the annual Global Forum
พันธมิตรหลักและผู้ทำงานร่วมกันกับเรา