About TIJ

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) หรือ Thailand Institute of Justice (TIJ) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้าน การวิจัยและการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ประเทศไทยในกรอบความร่วมมือกับสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกัน อาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา เชื่อมโยงแนวคิดตามหลัก สากลสู่การปฏิบัติในระดับประเทศ และในภูมิภาคอาเซียน

 

ภารกิจสำคัญของ TIJ ประการหนึ่ง คือการส่งเสริมให้เกิดการอนุวัติ “ข้อกำหนดกรุงเทพ” หรือข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่ไม่ใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดหญิง (UN Bangkok Rules) รวมถึงส่งเสริมมาตรฐานสหประชาชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะด้านเด็กและสตรีในกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งยังทำหน้าที่ขับเคลื่อนประเด็นสำคัญต่างๆ ในเวทีระหว่างประเทศ เช่น หลักนิติธรรม การพัฒนา สิทธิมนุษยชน สันติภาพ และความมั่นคง

 

นอกจากนี้ TIJ ยังได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในฐานะหน่วยงานที่มีความเป็นเลิศด้านการวิจัยและมีศักยภาพด้านการป้องกันอาชญากรรม การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา และส่งเสริมหลักนิติธรรม โดยในวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime – UNODC) ได้รับรองสถานะให้ TIJ เป็นสถาบันเครือข่ายแผนงานสหประชาชาติด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (United Nations Programme Network Institutes – PNIs) โดยเป็นสถาบัน PNI ลำดับที่ 18 ของโลก และเป็นสถาบันแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ PNI

TIJ ถือเป็นองค์การมหาชนที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล แต่ปฏิบัติงานขึ้นตรงกับคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญในหลายแขนง และผู้บริหารองค์กรต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลและกำหนดนโยบาย กรอบยุทธศาสตร์ แผนงานของสถาบันฯ และมีพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเป็นประธานคณะที่ปรึกษาพิเศษ

 

 

Vision & Mission

"เป็นผู้ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง (Promoter of Change) ด้านการยกระดับกระบวนการยุติธรรม และเชื่อมโยงหลักนิติธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย อาเซียน และระดับสากล"

พันธกิจสำคัญของ TIJ คือการสร้างสังคมยุติธรรมที่ส่งเสริมนวัตกรรมและการมีส่วนร่วมเพื่อทุกคน: มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030

เรายึดมั่นในหลักการว่า "เพราะความยุติธรรมเป็นเรื่องของทุกคน" โดยมีภารกิจ ดังต่อไปนี้
1. การขับเคลื่อนจากมาตรฐานระดับโลกสู่การประยุกต์ใช้ในระดับประเทศ
2. การปลูกฝังค่านิยมหลักนิติธรรมและวัฒนธรรมแห่งการเคารพกติกา
3. การเสริมพลังผู้หญิงและเด็กในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
4. มุ่งหน้าสู่อนาคตด้วยการมีส่วนร่วมของทุกคน
5. เดินหน้าสร้างโลกใหม่ที่ดีกว่า