ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม
 

ในประเทศไทย การศึกษาเรื่องความหวาดกลัวอาชญากรรมเป็นประเด็นที่ที่ผ่านมาไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร 

 

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16  ระบุว่าความหวาดกลัวอาชญากรรมนั้นเป็น “อุปสรรคต่อการพัฒนา” เนื่องจากกระทบต่อคุณภาพชีวิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชน อีกทั้งความพยายามในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมก็อาจไม่มีส่งผลต่อลดความรู้สึกหวาดกลัวแต่อย่างใด

 

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) สำรวจความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8,445 ตัวอย่าง ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศ ว่ารู้สึกปลอดภัยจากอาชญากรรมหรือไม่ เมื่อเดินทางในละแวกที่พักอาศัยเพียงคนเดียวและเมื่อต้องอยู่บ้านคนเดียวทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน  ทั้งยังสอบถามระดับความรู้สึกหวาดกลัว รวมถึงการรับรู้ความเสี่ยงต่อการประสบอาชญากรรม ประสบการณ์ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม และการรายงานเหตุอาชญากรรม

 

 

ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 78.4 รู้สึกปลอดภัยหรือปลอดภัยมากเมื่อเดินในละแวกที่อยู่อาศัยของตนเองในเวลากลางคืน สำหรับปัจจัยที่ทำให้คนหวาดกลัวอาชญากรรม ในภาพรวมพบว่าอัตราอาชญากรรมในพื้นที่ไม่มีผลต่อความรู้สึกหวาดกลัว  แต่สภาพแวดล้อมทางกายภาพและลักษณะประชากรในชุมชนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนของปัจจัยส่วนบุคคลนั้น เพศ สถานะทางเศรษฐกิจ และมุมมองต่อปัญหาในชุมชน ล้วนมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกหวาดกลัวอาชญากรรม ความเชื่อมโยงที่บุคคลมีต่อชุมชนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งควรต้องศึกษาเพิ่มเติมและอาจมีความสำคัญในการกำหนดนโยบายเพื่อลดความรู้สึกหวาดกลัวอาชญากรรมได้

 

เอกสารดาวน์โหลด

STATA - fear of Crime.pdf

ขนาด 811.7 KB
ประเภทไฟล์ pdf
จำนวนดาวน์โหลด 146
ดาวน์โหลด
Back

Most Viewed

chat