Troubled Childhood ภูมิหลังการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงของเด็กและเยาวชนไทย
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) ในฐานะสถาบัน เครือข่ายขององค์การสหประชาชาติ ที่มีภารกิจในการส่งเสริมและปกป้อง สิทธิมนุษยชน ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ สำรวจข้อมูลความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนไทยอย่างต่อเนื่องในช่วง พ.ศ. 2560 - 2562 โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม และได้จัดทำเป็นหนังสือแล้ว จำนวน 4 เล่ม ได้แก่ “Troubled Childhood I: ประวัติการตกเป็นเหยื่อ ความรุนแรงก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของเด็กในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชน” หนังสือ “Troubled Childhood II: ประวัติการตกเป็นเหยื่อ ความรุนแรงก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของเด็กในศูนย์ฝึกและอบรมเด็ก และเยาวชน หนังสือ “Troubled Childhood III: ภูมิหลังการตกเป็นเหยื่อ ความรุนแรงของประชากรกลุ่มตัวอย่าง อายุ 18 - 19 ปี” และล่าสุดหนังสือ “Troubled Childhood IV: ภูมิหลังการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงของเด็กและ เยาวชนในสถานศึกษาอายุ 12 - 17 ปี หนังสือ “Troubled Childhood V: ภูมิหลังการตกเป็นเหยื่อความรุนแรง ของเด็กและเยาวชนไทย” เล่มนี้ เป็นการประมวลผลการศึกษาวิจัยของกลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าว เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ และบุคลากรที่ทำงานด้านความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ คณะผู้จัดทำหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะมีส่วน ช่วยสร้างความตระหนักรู้ในสังคม และนำไปสู่การยุติความรุนแรงต่อเด็ก และเยาวชนในทุกรูปแบบ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการดูแลเด็กและเยาวชน ด้วยความเข้าใจ ให้พวกเขาเติบโตอย่างมีคุณภาพและเป็นกำลังหลักของสังคม ในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
รายละเอียดรายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นี้ นับเป็นปีที่ TIJ ได้ขับเคลื่อนเรื่อง "กระบวนการยุติธรรมที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง" อย่างเต็มรูปแบบในหลากหลายมิติ หนึ่งในรูปธรรมที่ชัดเจนคือการเปิดตัวอาคารสำนักงานแห่งใหม่บนถนนแจ้งวัฒนะอย่างเป็นทางการและใช้โอกาสนี้ปรับโฉมเรื่องความยุติธรรมที่คนทั่วไปมองว่าเป็นเรื่องยากและห่างไกลจากตนเองให้มีความใกล้ชิด เข้าถึงง่าย ด้วยการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม เรียนรู้ และร่วมกันขบคิดออกแบบระบบยุติธรรมที่พึงปรารถนาไปพร้อมกัน ผ่าน "TIJ Common Ground" เน้นให้ทุกคนเข้ามาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่มี่ข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องร่างกาย อายุ เพศ แนวคิด ความเชี่ยวชาญ ความเชื่อ อันเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างระบบยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางได้อย่างแท้จริง
รายละเอียด