ที่มาของข้อกำหนดกรุงเทพ
ผู้ต้องขังหญิงถูกมองว่าเป็น “ประชากรที่ถูกลืม”
ความผิดของผู้ต้องขังหญิงในประเทศไทย
“ข้อกำหนดกรุงเทพ” ไม่ใช่ “กฎหมาย” แต่เป็นแนวปฏิบัติที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับกฎหมายได้
เนื้อหาของ “ข้อกำหนดกรุงเทพ” ได้มาจากการศึกษาผลงานการศึกษาวิจัยในเรื่องการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงทั่วโลก และยังได้นำเอากฎหมายและข้อกำหนดระหว่างประเทศว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงหลายฉบับมาเพื่ออ้างอิงและกลั่นกรองให้เนื้อหามีความสอดคล้องและสามารถใช้ร่วมกันได้กับกฎหมายและข้อกำหนดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อให้ ข้อกำหนดนี้มีเนื้อหาที่ครอบคลุมถึงผู้กระทำผิดหญิงและผู้ต้องขังหญิงทุกประเภท และการปฏิบัติที่ควรจะเป็นต่อผู้ต้องขังหญิงเหล่านั้น รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้ชุมชนและสังคมโดยรวมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ข้อกำหนดกรุงเทพ ใน พรบ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560
การนำข้อกำหนดกรุงเทพไปใช้เป็นแนวทางในการออกกฎหมายในประเทศไทย จากพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560
มาตรา 39 วรรค 2 ให้เรือนจำจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้เด็กติดผู้ต้องขังตามสมควร ซึ่งตรงกับข้อกำหนดกรุงเทพ ข้อ 42 วรรค 2
มาตรา 47 สิทธิร้องเรียนเกี่ยวกับการถูกล่วงละเมิดทางเพศจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานของเรือนจำ ซึ่งตรงกับข้อกำหนดกรุงเทพ ข้อ 25 วรรค 2
มาตรา 57 ให้เรือนจำจัดให้ผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรได้รับคำแนะนำทางด้านสุขภาพและโภชนาการจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และต้องจัดอาหารที่เพียงพอและในเวลาที่เหมาะสมให้แก่ผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์ ทารก เด็กและมารดาที่ให้นมบุตรและต้องไม่ขัดขวางผู้ต้องขังหญิงจากการให้นมบุตรเว้นแต่มีปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งตรงกับข้อกำหนดกรุงเทพ ข้อ 48
มาตรา 58 วรรค 3 ให้เด็กที่อยู่ร่วมกับมารดาในเรือนจำได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็กเพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาตามความจำเป็น รวมทั้งการตรวจป้องกันโรค และการบริการด้านสุขอนามัย ซึ่งตรงกับข้อกำหนดกรุงเทพ ข้อ 9
มาตรา 59 ให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์และด้านกฎหมายแก่ผู้ต้องขังหญิง ซึ่งถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดยเฉพาะผู้ซึ่งตั้งครรภ์จากการถูกล่วงละเมิด ตรงกับข้อกำหนดกรุงเทพ ข้อ 25 วรรค 2
อ้างอิงข้อมูล
ข้อกำหนดกรุงเทพ. https://knowledge.tijthailand.org/th/publication/detail/78#book/
แนวโน้มสถานการณ์เรือนจำโลก ปี 2566.
https://knowledge.tijthailand.org/th/publication/detail/global-prison-trends-2023#book/
สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ วันที่ 1 ธันวาคม 2566. http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_index.php?report=drug
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560.
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/021/1.PDF