ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

“เป็นเวลามากกว่า 13 ปี นับตั้งแต่การรับรองข้อกำหนดกรุงเทพ แม้จะมีความคืบหน้าในการนำข้อกำหนดกรุงเทพไปปรับใช้ แต่ก็ยังเห็นได้ชัดว่ายังมีหลายสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน”

 

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) จึงได้ริเริ่มโครงการ Renewing our promise: Fostering progress and investments to advance the application of the Bangkok Rules เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันในการนำข้อกำหนดกรุงเทพไปปรับใช้ ข้อท้าทาย และแนวทางการขับเคลื่อนการใช้ข้อกำหนดกรุงเทพที่สอดรับกับความต้องการของแต่ละภูมิภาคในอนาคต

 

เพื่อสร้างกลไกในการรวบข้อมูลเชิงลึกรายภูมิภาค TIJ และ UNODC จึงมีกำหนดจัดการประชุมหารือระดับภูมิภาคเพื่อยกระดับการอนุวัติข้อกำหนดกรุงเทพฯ ขึ้นใน 5 ภูมิภาคทั่วโลก และได้จัดการประชุมสำหรับภูมิเอเชียแฟซิฟิคขึ้นเป็นภูมิภาคแรก ระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2567 ณ กรุงเทพ โดยมีผู้แทนจากประเทศในภูมิภาค และองค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ภาพรวมของการนำข้อกำหนดกรุงเทพไปปฏิบัติใช้ ปัญหาอุปสรรค และแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี 

 

ข้อมูลสถิติและรายงานการวิจัยชี้ให้เห็นว่า

 
  • จำนวนผู้ต้องขังหญิงทั่วโลก เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 60 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของผู้ต้องขังชายที่คิดเป็นร้อยละ 22 

  • จำนวนผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่ถูกคุมขังในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าในหลายภูมิภาค

  • ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจำคุกผู้หญิงคือ ความยากจน นโยบายรัฐด้านยาเสพติด การค้าประเวณี การลักลอบย้ายถิ่นฐาน การกดขี่จากโครงสร้างทางสังคม และปัจจัยแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละพื้นที่

 

ที่ประชุมได้ระบุถึงปัญหาและความท้าทายด้านงบประมาณในการขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพ รวมถึงปัญหาอื่นๆ อาทิ ความแออัดของเรือนจำและการขาดความตระหนักรู้ในความการบังคับใช้ แกละเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ การส่งเสริมด้านอาชีพของผู้ต้องขัง การปรับปรุงการจัดเก็บข้อมูล การทำความเข้าใจบาดแผลในการตกเป็นเหยื่อของผู้หญิงก่อนเข้าสู่เรือนจำ และที่สำคัญคือการให้ความช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิงในการกลับสู่สังคม

 

ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2568 จะครบรอบ 15 ปี ของการรับรองข้อกำหนดกรุงเทพฯ การประชุมครั้งนี้จึงเป็นเวทีสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ Renewing Our Promise on the Bangkok Rules ในการแสวงหาแนวทางในการขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

Back
chat