ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม
“การกระทำผิดเพียงครั้งเดียวไม่ใช่จุดสิ้นสุดของชีวิต หากผู้กระทำผิดหญิงได้รับการปฏิบัติด้วยอย่างเข้าใจและเคารพในสิทธิมนุษยชน ระหว่างการฟื้นฟูเยียวยาที่สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพและมาตรฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง TIJ พร้อมที่จะเดินไปกับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์อาเซียนในการเดินทางเพื่อเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และนำทางสู่การให้โอกาสผู้กระทำผิดหญิงในการคืนสู่สังคม” ดร. พิเศษ สอาดเย็น ผู้อำนวยการ TIJ
 
 
 
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) จัดหลักสูตรฝึกอบรมว่าด้วยการบริหารจัดการผู้ต้องขังหญิงตามข้อกำหนดกรุงเทพ สำหรับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ระดับอาวุโสในภูมิภาคอาเซียนหรือ The Bangkok Rules Training ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 5 ในวันนี้ ถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2567 เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ต้องขังหญิงให้สอดคล้องกับข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง หรือข้อกำหนดกรุงเทพ รวมทั้งสร้างความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการเฉพาะที่สนองตอบต่อเพศภาวะของผู้ต้องขังหญิง
 
 
 
ผู้ร่วมอบรมจากทั่วภูมิภาคอาเซียนทั้ง 27 คน จะได้รับการฝึกอบรมครอบคลุมเนื้อหา 12 หัวข้อ ได้แก่ ที่มาของข้อกำหนดกรุงเทพ การบริหารจัดการเรือนจำโดยคำนึงถึงความละเอียดอ่อนทางเพศ กลุ่มที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ หญิงตั้งครรภ์ มารดา และเด็กที่อาศัยอยู่ในเรือนจำ การรับตัวเข้าเรือนจำ และกระบวนการจำแนก ความปลอดภัยของผู้ต้องขังหญิง การรักษาระเบียบและความปลอดภัยในเรือนจำหญิง การแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง การติดต่อกับโลกภายนอก ความเป็นผู้นำและการเสริมพลังเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ การดูแลสุขภาพและบาดแผลทางจิตใจผู้ต้องขังหญิง และการกลับคืนสู่สังคม โดยร่วมกันเรียนรู้ผ่านการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญ การร่วมกิจกรรมกลุ่ม การศึกษาดูงานในเรือนจำ และในช่วงท้ายของการอบรม ผู้เข้าร่วมจะได้จัดทำแผนปฏิบัติการ (action plan) และนำเสนอแผนงานต่อไป
 
Back
chat