ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

จากข้อกำหนดขั้นต่ำในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงสหประชาชาติ สู่การปฏิบัติจริงในไทยพร้อมขยายสู่ภูมิภาค สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) จัดการฝึกอบรมว่าด้วยการบริหารจัดการผู้ต้องขังหญิง ตาม “ข้อกำหนดกรุงเทพ” ครั้งที่ 2 ให้แก่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ระดับอาวุโสของประเทศไทยและสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน ระหว่างวันที่ 14-25 สิงหาคม 2560 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังหญิงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชน เตรียมความพร้อมก่อนกลับคืนสู่สังคม ลดโอกาสในการกระทำผิดซ้ำอีก และขยายแนวคิดโครงการเรือนจำต้นแบบไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียน


แม้กลุ่มผู้ต้องขังหญิงจะถือเป็นเพียงอัตราส่วนเล็กๆ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด แต่ในรอบสิบปีที่ผ่านมา จำนวนของผู้ต้องขังหญิงทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าผู้ต้องขังชาย โดยในส่วนของประเทศไทย ข้อมูลจากกรมราชทัณฑ์ระบุว่าปี 2560 ผู้ต้องขังหญิงมีจำนวนสูงถึง 38,678 คน เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2551 ที่มีผู้ต้องขังหญิงเพียง 26,321 คน โดยประเทศไทยมีผู้ต้องขังหญิงสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐ จีน รัสเซีย และหากเปรียบเทียบกับประชากรต่อ 100,000 คน ถือว่าประเทศไทยมีอัตราส่วนผู้ต้องขังหญิงมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก


เร็วกว่าผู้ต้องขังชาย โดยในส่วนของประเทศไทย ข้อมูลจากกรมราชทัณฑ์ระบุว่าปี 2560 ผู้ต้องขังหญิงมีจำนวนสูงถึง 38,678 คน เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2551 ที่มีผู้ต้องขังหญิงเพียง 26,321 คน โดยประเทศไทยมีผู้ต้องขังหญิงสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐ จีน รัสเซีย และหากเปรียบเทียบกับประชากรต่อ 100,000 คน ถือว่าประเทศไทยมีอัตราส่วนผู้ต้องขังหญิงมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ประชากรผู้ต้องขังหญิงทั่วโลกเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราที่สูงกว่าผู้ต้องขังชาย โดย 8 ใน 10 ของประเทศในภูมิภาคอาเซียนต้องเผชิญกับสถานการณ์นี้ และนำไปสู่ปัญหาความแออัดในเรือนจำ อันเป็นปัญหาสำคัญในการบริหารจัดการเรือนจำและฟื้นฟูผู้ต้องขัง การฝึกอบรมในครั้งนี้จึงเป็นงานสำคัญของ TIJ เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ต้องขังหญิงแก่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์อาเซียน โดยให้คำนึงถึงความต้องการด้านเพศ สภาวะ และสร้างวัฒนธรรมที่คำนึงถึงความต้องการเฉพาะด้านของเพศหญิงให้เกิดขึ้นในราชทัณฑ์อาเซียนต่อไป”

การที่ผู้ต้องขังหญิงส่วนใหญ่มีภูมิหลังที่คล้ายคลึงกัน ทั้งการมีประวัติการถูกข่มเหง กระทำทารุณ มีความบอบช้ำทางจิตใจ มีปัญหาเรื่องการใช้สารเสพติด มีปัญหาสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจ รวมไปถึงขาดโอกาสในการได้รับการศึกษาและโอกาสในการประกอบอาชีพ เป็นเสมือนการปูทางให้พวกเธอเหล่านี้ต้องเข้าไปสู่ชีวิตในเรือนจำ และหากพวกเธอเหล่านี้ไม่ได้รับการปฏิบัติที่คำนึงถึงความละเอียดอ่อนทางเพศ และการสนับสนุนที่เหมาะสมเมื่อเข้าสู่เรือนจำ จะยิ่งทำให้พวกเธอตกเป็นเหยื่อซ้ำสอง รวมถึงมีความเสี่ยงที่จะกลับไปกระทำความผิดซ้ำ ขณะเดียวกันจากที่เรือนจำในประเทศไทยถูกออกแบบเพื่อรองรับผู้ต้องขังชาย ยังส่งผลให้ผู้ต้องขังหญิงที่มีความต้องการพื้นฐานด้านเพศสภาวะต่างจากผู้ต้องขังชายถูกละเลย

ปัญหาดังกล่าวเป็นที่มาของการเสนอ “ข้อกำหนดกรุงเทพ” ซึ่งเป็นข้อกำหนดสหประชาชาติ ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง ที่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้า พัชรกิติยาภา ทรงเล็งเห็นปัญหาและทรงร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยผลักดัน “ข้อกำหนดกรุงเทพ” ในเวทีสหประชาชาติ จนได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 ถือเป็นข้อกำหนดแรกของไทยที่ได้รับการยอมรับในเวทีสหประชาชาติ

ในการนี้ TIJ จึงได้ดำเนินการจัดการฝึกอบรม ว่าด้วยการบริหารจัดการผู้ต้องขังหญิง ตาม “ข้อกำหนดกรุงเทพ” ครั้งที่ 2 ให้แก่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ระดับอาวุโสของประเทศไทยและสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อให้คำแนะนำ และให้ความรู้ในแนวทางการนำข้อกำหนดกรุงเทพไปปรับใช้ในทางปฏิบัติ ผ่านการสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม ออกแบบแผนการปฏิบัติงาน การวางโครงสร้างสำหรับการนำข้อกำหนดกรุงเทพ รวมถึงกฎเกณฑ์และมาตรฐานสากลอื่นๆ ไปปรับใช้ นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงปัญหา ข้อท้าทาย รวมถึงแนวทางที่ดีในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมอบรมยังจะได้ประเมินสถานการณ์ปัจจุบันของเรือนจำ รวมถึงโปรแกรมต่างๆ ว่าสอดคล้องกับแนวปฏิบัติระหว่างประเทศข้อกำหนดกรุงเทพมากน้อยเพียงใด อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ระดับอาวุโสในกลุ่มประเทศอาเซียน

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กล่าวถึงโครงการนี้ว่า “TIJ มีหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามมาตรฐานของ “ข้อกำหนดกรุงเทพ” ทั้งในและต่างประเทศ โดยล่าสุด TIJ ได้เป็นเจ้าภาพในการฝึกอบรมว่าด้วยการบริหารจัดการผู้ต้องขังหญิงตามข้อกำหนดกรุงเทพ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สำคัญ เพราะการอบรมดังกล่าว เป็นการขยายโมเดลข้อกำหนดกรุงเทพสู่การปฏิบัติในประเทศภูมิภาคอาเซียน เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์สำคัญในการราชทัณฑ์ของผู้หญิงที่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา และเน้นการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความต้องการเฉพาะด้านเพศสภาวะของผู้หญิงและเด็กติดผู้ต้องขังหญิง และสร้างมาตรฐานที่ดีสำหรับการปฏิบัติต่อผู้หญิง”


“ปัจจุบันเรือนจำในที่ต่างๆ เผชิญกับปัญหาคล้ายคลึงกันในเรื่องผู้ต้องขังล้นเรือนจำ และงบประมาณที่ไม่เพียงพอแก่การปฏิบัติงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี การนำข้อกำหนดกรุงเทพไปปรับใช้ไม่จำเป็นต้องมีงบประมาณ จำนวนมากเกี่ยวข้องเสมอไป และในบางข้อของข้อกำหนดกรุงเทพก็ไม่จำเป็นต้องมีงบประมาณเพิ่มเติมเลย ขอเพียงผู้เกี่ยวข้องมีความตระหนักในความสำคัญของเรื่องนี้ มีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลง และพร้อมใช้ความคิดสร้างสรรค์ปรับปรุงดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม”

สำหรับวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ได้แก่ ดร.บาร์บารา โอเวน ผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ เรื่องข้อกำหนดกรุงเทพ ดร.ซาแมนทา เจฟฟรีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญาวิทยาและเพศสภาวะ จากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ  (Griffith University) ประเทศออสเตรเลีย และนางสาวชลธิช ชื่นอุระ หัวหน้ากลุ่มโครงการส่งเสริมการอนุวัติข้อกำหนดกรุงเทพและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดจาก TIJ

โดยเนื้อหาในการอบรมแบ่งออกเป็น 12 หัวข้อ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของข้อกำหนดกรุงเทพ ได้แก่

  1. การบริหารจัดการเรือนจำโดยคำนึงถึงความละเอียดอ่อนทางเพศ
  2. การเลือกภูมิลำเนา เรือนจำ การรับเข้าเรือนจำ และกระบวนการจำแนกผู้ต้องขัง
  3. สุขภาพอนามัยและการดูแลสุขภาพโดยทั่วไป
  4. การดูแลสุขภาพประเด็นที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
  5. ความปลอดภัยของผู้ต้องขังหญิง
  6. การรักษาระเบียบ และความปลอดภัยในเรือนจำหญิง
  7. การติดต่อกับโลกภายนอก
  8. กิจกรรม และโครงการต่างๆ เพื่อฟื้นฟูนักโทษ
  9. หญิงมีครรภ์ มารดา และเด็กที่อาศัยอยู่ในเรือนจำ
  10. กลุ่มที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
  11. การเตรียมตัวก่อนปล่อย และ
  12. การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่เรือนจำที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังหญิง


นอกจากนี้ ยังมีการพาผู้เข้าอบรมไปศึกษาดูงานเรือนจำที่เรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งได้รับการจัดให้เป็นเรือนจำต้นแบบตาม “ข้อกำหนดกรุงเทพ” และทัณฑสถานหญิงธนบุรี ซึ่งเป็นเรือนจำที่นำข้อกำหนดกรุงเทพไปปรับใช้

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีเรือนจำต้นแบบจำนวน 6 แห่ง ได้แก่

  1. เรือนจำจังหวัดอุทัยธานี
  2. ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่
  3. เรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  4. ทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
  5. ทัณฑสถานหญิงชลบุรี และ
  6. เรือนจำกลางสมุทรสาคร และในปี 2560 TIJ ได้เปิดรับสมัครและคัดเลือกเรือนจำจากภาคเหนือ โดยคาดว่าจะมีเรือนจำต้นแบบเพิ่มขึ้น 1-2 แห่ง และในขณะนี้อยู่ในกระบวนการ ประเมินความพร้อมและคัดเลือก


นอกจากนี้ TIJ ได้จัดทำแผนการพัฒนาเรือนจำต้นแบบระยะยาว 3 ปี (ปี 2560- 2562) โดยมุ่งขยายเรือนจำเป้าหมายให้ครบทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดศูนย์กลางการเรียนรู้ เรื่องเรือนจำหรือทัณฑสถานในการปฏิบัติตามข้อกำหนดกรุงเทพ และเอื้ออำนวยต่อการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยน แนวทางการปฏิบัติอย่างทั่วถึง

Back
chat