ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจต่อการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา

รายละเอียดเพิ่มเติม

คณะผู้แทนสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) นำโดย ดร. พิเศษ สอาดเย็น ผู้อำนวยการสถาบันฯ ได้เข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา หรือ United Nations Commission on Crime Prevention and Criminal Justice (CCPCJ) สมัยที่ 33 ระหว่างวันที่ 13-17 พฤษภาคม 2567 ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย ภายใต้หัวข้อหลักเรื่อง “การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ และความช่วยเหลือทางเทคนิคในการป้องกันและรับมือกับอาชญากรรมในลักษณะองค์กร การทุจริต และการก่อการร้ายในทุกรูปแบบ และอาชญากรรมในรูปแบบอื่นๆ รวมถึงการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา และการติดตามทรัพย์สินคืน” (Promoting International Cooperation and Technical Assistance to Prevent and Address Organized Crime, Corruption, Terrorism in All Its Forms and Manifestations, and Other Forms of Crime, Including in the Areas of Extradition, Mutual Legal Assistance, and Asset Recovery)

 

การประชุม CCPCJ เป็นเวทีระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในการกำหนดทิศทางและนโยบายด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญาในระดับระหว่างประเทศ โดยนับเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยรวมถึงสถาบันฯ ที่จะนำเสนอทิศทางและร่วมกำหนดนโยบายที่สำคัญในระดับระหว่างประเทศ ตลอดจนเป็นเวทีในการนำเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีในประเด็นต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมระหว่างประเทศ

 

ทั้งนี้ บทบาทการดำเนินกิจกรรมของสถาบันฯ ในระหว่างการประชุมดังกล่าว มีดังนี้

(1) การจัดกิจกรรมคู่ขนาน โดยร่วมกับสำนักงาน UNODC ในหัวข้อ “Strengthening Global Efforts to Advance the Implementation of the Bangkok Rules” เพื่อแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าและข้อท้าทายในการอนุวัติข้อกำหนดกรุงเทพในระดับภูมิภาค รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อเพศภาวะในระดับสากลต่อไป

 

(2) การเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ

2.1 การเข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนานจัดโดย UNAFEI สถาบันวิจัยอาชญากรรมและความยุติธรรมระหว่างภูมิภาคแห่งสหประชาชาติ (UNICRI) และ PRI ในหัวข้อ “Enhancing Rehabilitation Outcomes for Prisoners through the Adoption of Innovative Technologies”

 

2.2 การเข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนานจัดโดย Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) ในหัวข้อ “Making People-Centred Justice Happen to Strengthen Democracy and Prosperity: Ensuring Impact and Implementation”

 

 

 

2.3 การสนับสนุนกิจกรรมคู่ขนานจัดโดยสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด ในหัวข้อ "Cooperation Towards Enhanced Justice: Advancing Investigative Interviewing Practices"

 

 

2.4 การสนับสนุนกิจกรรมคู่ขนานจัดโดยรัฐบาลนอร์เวย์ ในหัวข้อ "Effective Interviewing and Investigation: Tools and Resources for Enhanced Criminal Justice"

 

 

2.5 การเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ (PNI Workshop) จัดขึ้นโดยสถาบันเพื่อการปฏิรูปและการส่งเสริมนโยบายทางกระบวนการยุติธรรม (ICCLR) สภาที่ปรึกษาทางวิชาการและวิชาชีพระดับนานาชาติในโครงการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญาของสหประชาชาติ (ISPAC) และสถาบันการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดของสหประชาชาติภาคพื้นเอเชียและตะวันออกไกล (UNAFEI) ภายใต้หัวข้อ “Promoting International Cooperation and Technical Assistance to Prevent and Address Organized Crime, Corruption, Terrorism in All Its Forms and Manifestations, and Other Forms of Crime, Including in the Areas of Extradition, Mutual Legal Assistance, and Asset Recovery"

 

(3) การเข้าประชุมเครือข่ายแผนงานสหประชาชาติด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา หรือ UN Crime Prevention and Criminal Justice Programme Network of Institutes (PNI) เพื่อให้สถาบันเครือข่าย PNI ได้นำเสนอความคืบหน้าของกิจกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ และการแสวงหาความร่วมมือร่วมกับสถาบันเครือข่าย PNI อื่นๆ ต่อไป โดยที่ประชุมดังกล่าว ได้มีการหารือถึงแนวทางการจัดทำ PNI Newsletter ในระยะต่อไป การดำเนินงานของ Justice Knowledge Center

 

 

(4) การเจรจาความร่วมมือกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สถาบันฯ ผลักดันอยู่

นอกจากนี้ ในการกล่าวอภิปรายในที่ประชุมเต็มคณะ (plenary) ในวาระการประชุมที่ ๖(e) ว่าด้วยกิจกรรมอื่น ๆ ที่สนับสนุนงานของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ รวมถึงกิจกรรมโดยเครือข่ายสถาบันสมทบของสหประชาชาติด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมอาญา องค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาล และองค์กรอื่นๆ ดร.พิเศษ สอาดเย็น ผู้อำนวยการ TIJ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาหลักนิติธรรมและส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างกระบวนการยุติธรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของประขาชนอย่างแท้จริง รวมทั้งการอนุวัติมาตรฐานและบรรทัดฐานระหว่างประเทศด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา โดยเฉพาะข้อกำหนดกรุงเทพ ผ่านความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ

Back
chat